วันศุกร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2550

รูปวาดเล่นๆ ตอนทำโปรเจค



ถ้าหากลงสีแล้วเดี๋ยวจะอัพมาให้ดูนะครับ รอคอยอีกซักพัก

ผมถนัดพวกวาดภาพประกอบมากกว่า อุอุ ในDegree Project ผมได้ทำเรื่องการ์ดเกม ถาพประกอบก็จะเป็นแบบนี้ แต่มีการลงสีมากกว่านี้
(บอกแล้วไงว่าเสร็จจะอัพมาให้)

Final Project Communication Design 5 (แก้ไข)

หลังจากในวันที่7ตุลาคม ผมได้ไปแก้ไขงานเพิ่มเติม ในส่วนนี้ผมแก้ไขทั้งหมดให้ดูน่าสนใจมากขึ้น




ขออภัยที่ส่งบล็อกช้า............จากคำวจารณ์และคำบอกเล่าของเพื่อนเพื่อน ผมได้แก้ไขในเรื่องของตัวเองและผลงานมากขึ้น
Communication Design5 ทำให้ผมทำอะไรที่ผมไม่เคยทำ และได้ให้ผมพิสูจน์ตัวเอง ผมได้เข้าใจในรายละเอียดของวิชานี้มากขึ้น
ผมพยามเข้าใจและได้รู้แจ้งในเรื่องบางส่วนจนผลักดันโปรเจคของผมให้ผ่านพ้นไปได้ด้วยดี ต่อไปนี้ผมจะเอาใจใส่กับงานมากขึ้น










(ตัวอย่างโปสเตอร์)

Sequence คู่ขนาน
ในทฤษฎีของ Quantum ที่ว่าด้วยโลกคู่ขนาน
ทฤษฎีของโลกคู่ขนานนี้เกี่ยวข้องกับทฤษฎีความน่าจะเป็นโดยจะมีตัวให้เลือกคล้ายกับการเสี่ยงสุ่มโดยหน้าของลูกเต๋าว่าจะออกหน้าอะไร ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจะส่งผลกระทบให้เกิดสิ่งใหม่ในขั้นตอนถัดไป โดยสิ่งนี้อาจมีจุดเริ่มเหมือนกันแต่จุดจบไม่เหมือนกัน และสามารถเกิดต่อไปได้เรื่อยๆอีก ซึ่งจะมีจุดจบ หรือไม่มีก็ได้

เลือกการพับกระดาษมาเป็นสื่อของSequenceคู่ขนาน โดยจะมีการเลือกที่จะพับว่าจะพับไปข้างหน้าหรือข้างหลังโดยใช้กระดาษด้านหนึ่งเป็นสีขาวและอีกด้านหนึ่งเป็นสีดำ เมื่อพับกระดาษแล้วรูปทรงของกระดาษจะแตกต่างกันไปโดยขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้พับ


งานเก่ารูปถ่ายหายครับ เดี๋ยวผมจะจัดแจงอัพใหม่โดยเร็วที่สุดครับ เอางานแก้ไปดูก่อนนะครับ ของคุณที่ชมครับ

วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2550

การพับ


พับนก

พับมังกร....อันนี้ไม่มีวิธีการพับ

พับเลข8

พับคุณช้าง

พับเค้ก


ได้ไปลองดูวิธีการพับของญี่ปุ่นที่เกิดจากกระดาษแผ่นเดียว
รูปทรงของกระดาษก่อนที่จะพับเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัสทั้งหมด
ญี่ปุ่นเป็นชนชาติที่ควรได้รับการยกย่องในหลายหลายๆด้าน เพราะมีไอเดียแปลกๆจึงอยากนำมาเสนอให้ได้ชมกัน

ซึ่งจะเห็นได้ว่าการพับนั้นเกิดจากการตัดสินใจที่จะพับออกมาและเลือกว่าจะพับตรงไหนทำให้จุดหมายปลายทางไม่เหมือนกัน

สิ่งที่จะนำมาประยุกต์ใช้งานที่เกิดจากการพับ
ผมติดปัญหาอยู่ที่รูปแบบการพับของของแต่ละอย่างไม่เหมือนกัน ผมจึงต้องศึกษาว่าจะทำอย่างไรการพับถึงอธิบายSequenceของผมได้อย่างตรบถ้วน และมีความน่าสนใจ+สนุก อยู่ในงานออกแบบ
- ผมคิดจะนำข้อมูลของการพับมาใช้ในการออกแบบ ว่าเมื่อเวลาเราพับตรงไหนจะเปลี่ยนไปอย่างไร
- รูปทรงที่ใช้เริ่มอาจเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส เพราะผมเอาวิธีการพับแบบญี่ปุ่นมาอ้างอิง และอาจมีการลอกวิธีการพับบางส่วนเพื่อใช้เป็นแกนการพับ
http://www.origami-club.com/ >>>>สนใจดูการพับแบบอื่นlinkไปที่เวปนี้ได้นะครับ

วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2550

แก้ข้อผิดพลาดของงานคู่ขนาน

Sequence คู่ขนาน ในทฤษฎีของ Quantum ที่ว่าด้วยโลกคู่ขนาน
ทฤษฎีของโลกคู่ขนานนี้เกี่ยวข้องกับทฤษฎีความน่าจะเป็นโดยจะมีตัวให้เลือกคล้ายกับการเสี่ยงสุ่มโดยหน้าของลูกเต๋าว่าจะออกหน้าอะไร ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจะส่งผลกระทบให้เกิดสิ่งใหม่ในขั้นตอนถัดไป โดยสิ่งนี้อาจมีจุดเริ่มเหมือนกันแต่จุดจบไม่เหมือนกัน และสามารถเกิดต่อไปได้เรื่อยๆอีก ซึ่งจะมีจุดจบ หรือไม่มีก็ได้

โดยเส้นทางที่เชื่อมต่อซึ่งทำให้วัตถุเปลี่ยนแปลงไปอาจคล้ายกับLink โดยมีลักษณะที่คล้ายกับท่อต่อน้ำ ซึ่งทำให้วัตถุที่เกิดขึ้นต่างกันออกไป

Linkที่เกิดขึ้นอาจมีลักษณะคล้ายกับท่อส่งน้ำซึ่งอยู่ในจุดA1 และA2 ซึ่งทั้งสองจุดไม่ใช่การเลือก แต่เป็นจุดเชื่อมต่อเพื่อให้ส่งต่อจากจุด A1 ไปยังจุดA2 ได้ซึ่งอาจจะเป็นเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของSequenceแบบส่งต่อกันก็ได้ ซึ่งวัตถุที่ยกมาจะอยู่ในรูปของวัตถุที่สามารถเปลี่ยนรูปได้ซึ่งในขั้นตอนนี้ได้ยกตัวอย่างของน้ำที่อยู่ในท่อซึ่งน้ำจะสามารถเปลี่ยนรูปได้เมื่ออยู่ในสิ่งแวดล้อมต่างๆ และสามารถเปลี่ยนรูปร่างเพื่อเคลื่อนให้ไปหาอีกจุดหมายหนึ่งได้ แต่รูปร่างของน้ำจะไม่คงตัวทำให้ไม่สามารถยกรูปแบบของน้ำมาเป็นตัวอย่างในSequenceคู่ขนานได้ เพราะน้ำจะไม่หลงเหลือรูปทรงของในอดีตได้มากว่าความเป็นน้ำที่อยู่ในภาชนะใหม่

หารูปแบบที่มีลักษณะคล้ายกัน....ดินน้ำมันน่าจะตอบโจทย์ได้มากกว่าน้ำ เพราะว่าดินน้ำมันมีของแข็งกึ่งเหลวที่สามารถซึมซับเหตุการณ์ในอดีต....เมื่อเราขยำรูปร่างดินน้ำมันก็เปลี่ยนไปตามที่เราขยำ เมื่อเราปามันลงกับพื้นรูปร่างก็มันก็มีบางส่วนที่แบนและมีบางส่วนที่มีเหตุการณ์ของมันอยู่บ้าง และเมื่อเรานำมีดมาตัดครึ่งมันรูปร่างของมันก็ยังบอกถึงว่ามันเคยถูกขยำและถูกปามาก่อน เพราะรูปร่างที่เปลี่ยนไปจากสิ่งที่อดีตได้กระทำมา

เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับทฤษฎีโลกคู่ขนานของ Quantum ที่พูดถึงโลกในแบบที่ทับซ้อนกัน ซึ่งเป็นโลกของความน่าจะเป็น สถานะที่ต่างกันออกไปความสัมพันธ์นี้จะสิ้นสุดลง เมื่อมีการเลือกทางใดทางหนึ่งของความน่าจะเป็นนั้น ซึ่งหลังจากที่มีการเลือกเกิดขึ้นแล้วเอกภพคู่ขนานทั้งสองจะไม่สัมพันธ์กันอีกเลย โดยนำเอาการเคลื่อนที่ของน้ำที่อยู่ในรูปแบบของท่อ กับวัตถุที่เป็นดินน้ำมัน จะได้ดังนี้
-วัตถุที่เลือกต้องมีความอ่อนไหวต่อสิ่งเร้า
-วัตถุที่เลือกต้องเปลื่ยนไปไปตามแต่ละสถานที่โดยเป็นขั้นตอน
-เมื่อเปลี่ยนแปลงแล้วต้องอ้างถึงเหตุการณ์เก่า(น่าจะเหลือการเปลี่ยนแปลงครั้งก่อนไว้ให้เห็น)

ผมจึงหาวัตถุที่ใกล้เคียงกับดินน้ำมัน...ซึ่งน่าจะเป็นกระดาษเพราะกระดาษเป็นสิ่งที่บอบบางและสามารถเปลี่ยนรูปร่างด้วยวิธีการพับ....ผมหยุดความคิดนี้ไว้จนถึงวันศุกร์

ผมจึงคิดต่อไปอีกว่าผมจะใช้กระดาษมาเป็นตัวช่วยในการออกแบบอย่างไร
ในวันศุกร์ผมได้ไปดูนิทรรศการที่Central World ผมได้หยิบแผ่นพับขึ้นมาดูและพบว่า....เมื่อผมกางออกทั้งหมดและพับเก็บอีกครั้ง ผมจำไม่ได้ว่าผมควรจะพับไปด้านหน้าหรือด้านหลังดี และการพับเก็บของผมก็แปลกออกไป ผมจึงต้องย้อนไปพับใหม่อีกครั้ง ผมคิดว่าแผ่นพับน่าจะเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์ของผมได้ดีที่สุด เพราะเมื่อเราพับตามแบบที่เขาไม่ได้พับจะทำให้ผลสิ้นสุดแตกต่างออกไป ซึ่งจุดสิ้นสุดของเราจะเหมือนกับดินน้ำมันที่ถูกปาถูกขยำถูกตัดเป็นต้น

วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2550

ทำลองคู่ขนาน


คู่ขนานแบบความน่าจะเป็นในทฤษฏีของQuantum parallel universe

เมื่อนำทฤษฏีนี้มาใช้กับแผนที่ม.กรุงเทพ...จะหมายถึงการเลือกหรือความน่าจะเป็นว่ามีกี่วิธี
ชุดแรกเป็นวิธีของการเดินตามทาง(ถนน)โดยห้ามเดินทางย้อนกลับมาทางที่เคยเดินไปแล้ว

1.ผ่านหน้ามหาลัย-ผ่านตึก4-ผ่านตึก1-ผ่านตึก2-ผ่านตึก3-ผ่านตึก7-ผ่านตึก9-ไปถึงหอสมุด
2.ผ่านหน้ามหาลัย-ผ่านตึก4-ผ่านตึก5-ผ่านตึก6-ผ่านตึก3-ผ่านตึก7-ผ่านตึก9-ไปถึงหอสมุด
3.ผ่านหน้ามหาลัย-ผ่านตึก4-ผ่านตึก5-ผ่านตึก6-ผ่านตึก10-ผ่านตึก7-ผ่านตึก9-ไปถึงหอสมุด
4.ผ่านหน้ามหาลัย-ผ่านตึก4-ผ่านตึก1-ผ่านตึก2-ผ่านตึก3-ผ่านตึก6-ผ่านตึก10-ผ่านตึก7-ผ่านตึก9-ไปถึงหอสมุด
เมื่อลองคิดนอกกรอบ...การเดินทางไปทางไหนก็ได้โดยไม่เดินซ้ำกับเส้นทางที่เคยเดินมาแล้ว

ซึ่งจะได้วิธีอีกหลายวิธี เช่น
5.ผ่านหน้ามหาลัย-ผ่านตึก4-ผ่านตึก5-ผ่านตึก6-ผ่านตึก10-ผ่านตึก8-ผ่านตึก7-ผ่านตึก9-ไปถึงหอสมุด
6.ผ่านหน้ามหาลัย-ผ่านตึก4-ผ่านตึก1-ผ่านตึก2-ผ่านตึก3-ผ่านตึก6-ผ่านตึก10-ผ่านตึก8-ผ่านตึก7-ผ่านตึก9-ไปถึงหอสมุด
7.ผ่านหน้ามหาลัย-ผ่านตึก4-ผ่านตึก5-ผ่านตึก6-ผ่านตึก10-ผ่านตึก8-ผ่านตึก7-ผ่านตึก9-ผ่านตึก11-ผ่านตึก12-ไปถึงหอสมุด
8.ผ่านหน้ามหาลัย-ผ่านตึก4-ผ่านตึก1-ผ่านตึก2-ผ่านตึก3-ผ่านตึก6-ผ่านตึก10-ผ่านตึก8-ผ่านตึก7-ผ่านตึก9-ผ่านตึก11-ผ่านตึก12-ไปถึงหอสมุด
9.ผ่านหน้ามหาลัย-ผ่านตึก4-ผ่านตึก1-ผ่านตึก2-ผ่านตึก3-ผ่านตึก7-ผ่านตึก9-ผ่านตึก11-ผ่านตึก12-ไปถึงหอสมุด
10.ผ่านหน้ามหาลัย-ผ่านตึก4-ผ่านตึก1-ผ่านตึก2-ผ่านตึก3-ผ่านตึก8-ผ่านตึก7-ผ่านตึก9-ผ่านตึก11-ผ่านตึก12-ไปถึงหอสมุด
11.ผ่านหน้ามหาลัย-ผ่านตึก4-ผ่านตึก1-ผ่านตึก2-ผ่านตึก3-ผ่านตึก6-ผ่านตึก10-ผ่านตึก8-ผ่านตึก7-ไปถึงหอสมุด
12.ผ่านหน้ามหาลัย-ผ่านตึก4-ผ่านตึก5-ผ่านตึก6-ผ่านตึก10-ผ่านตึก8-ผ่านตึก7-ไปถึงหอสมุด
13.ผ่านหน้ามหาลัย-ผ่านตึก4-ผ่านตึก5-ผ่านตึก6-ผ่านตึก10-ผ่านตึก8-ผ่านตึก7-ผ่านตึก9-ผ่านตึก11-ผ่านตึก12-ไปถึงหอสมุด
สรุปการทดลอง
-เป็นระบบSequenceที่มีจุดเริ่มและจุดจบเดียวกัน(มีทางเข้าทางเดียวและทางออกทางเดียว)
-มีการจัดเรียงที่ไม่เหมือนกัน โดยอาจมีการสลับของSequenceบางพจน์ได้
-จำนวนของSequenceอาจไม่เท่ากันก้อได้
-มีการกำหนดให้บางตัวต้องตามบางตัวเท่านั้น หรือตามด้วยตัวไหนก็ได้
-การทดลองนี้เป็นการทดลองที่ใช้ชื่อของตึกตั้งแต่ตึก1-12มาใช้เพื่อให้เกิดความเข้าใจง่าย
-การทดลองนี้ไม่ใช่การทดลองที่สมบูรณ์แต่เเป็นการหยิบบางส่วนมาชี้ เพื่อตอบโจทย์แบบคู่ขนานแบบQuantum


สรุปงานทดลองที่จะเกิดขึ้น
-มีลักษณะคล้ายตัวอย่างดังกล่าว โดยนำการเชื่อมโยง การสลับ ความน่าจะเป็นมาใช้ในงานออกแบบ

สรุปคู่ขนาน

1.ขนานทางคณิตศาสตร์
- มีตั้งแต่2กลุ่มขึ้นไป
- เมื่อลากเส้นตัดที่90องศา เส้นต้องตั้งฉากกันทั้งหมด
- เหมือนหรือไม่เหมือนก็ได้
- เส้นจะยาวเท่ากันหรือไม่เท่ากันก็ได้
- ต้องอยู่บนระนาบเดียวกัน
- ช่องว่าระหว่าเส้นต้องเท่ากันเสมอ
- อาจเป็นเส้นตรงหรือเส้นโค้งก็ได้

2.ขนานทางปรัชญา...จะเป็นความรู้สึกของการใช้คำว่าคู่ขนาน เช่น พรรคการเมืองคู่ขนาน(น่าจะหมายถึงพรรคการเมืองที่มีความคิดเห็นที่ไม่สามารถบรรจบกันได้) อาจเป็นความหมายของคูขนานในเชิงลบ

สรุปทฤษฏีคู่ขนาน ของดร. อรรถกฤต ฉัตรภูติ
1. Quantum parallel universe ซึ่งกล่าวว่าอาจจะมีเอกภพอื่นๆ ซึ่งมี กฎทางฟิสิกส์ และ ค่าคงที่ต่างๆเหมือนกับเอกภพที่เราอยู่ทุกประการ แต่อาจจะอยู่ในสถานะที่ต่างกัน และ เอกภพคู่ขนานเหล่านี้ไม่สามารถที่จะติดต่อกันได้ ในโลกของควอนตัมซึ่งเป็นโลกของความน่าจะเป็น สถานะที่ต่างกันออกไป ในแต่ละเอกภพจะสัมพันธกัน โดยกระบวนการทางควอนตัมที่เรียกว่า Quantum superposition และ ความสัมพันธ์นี้จะสิ้นสุดลง เมื่อมีการเลือกทางใดทางหนึ่งของความน่าจะเป็นนั้น ซึ่งหลังจากที่มีการเลือกเกิดขึ้นแล้ว เอกภพคู่ขนานทั้งสองจะไม่สัมพันธ์กันอีกเลย....มีความน่าจะเป็น เมื่อความน่าจะเป็นเกิดขึ้น เอกภพคู่ขนานทั้งจะไม่สัมพันธ์กันอีกเลย
2. Inflation multi-universes เป็นแนวคิดที่พัฒนามาจากการศึกษาจักรวาลวิทยา (cosmology) หรือ การศึกษาเกี่ยวกับการกำเนิด และ วิวัฒนาการของเอกภพ หลักฐานที่เราได้จากคลื่นแม่ไมโครเวฟพื้นหลัง (Cosmic Microwave Background Radiation) ทำให้เชื่อว่าเอกภพที่เราอาศัยอยู่ ณ ขณะนี้ มีวิวัฒนาการมาจากการระเบิดครั้งใหญ่ที่เรียกว่า บิกแบง (Big Bang)
3.แนวคิดเรื่องเอกภพคู่ขนานในกลุ่มนี้ เป็นแนวคิดที่ได้มาจากทฤษฎีเส้นเชือก หรือ
String Theory ซึ่งเป็นทฤษฎีที่สร้างขึ้นมาเพื่อที่จะอธิบายธรรมชาติของแรงโน้มถ่วงในระดับพลังงานสูงๆ ก่อนอื่นต้องขออธิบายว่าในวิชาฟิสิกส์เราแบ่งแรงในธรรมชาติออกเป็น 4 ชนิด คือ
3.1แรงโน้มถ่วง ซึ่งเป็นแรงที่ดึงดูดมวลสารและพลังงานเข้าด้วยกัน เช่น แรงที่ดึงดูดดวงจันทร์เข้ากับโลกเป็นต้น
3.2แรงแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นแรงที่กระทำกับอนุภาคที่มีประจุ เช่น แรงที่ดูดอิเล็กตรอนให้วิ่งวนรอบนิวเคลียส เป็นแรงที่อยู่เบื้องหลังปฏิกิริยาเคมีทั้งหมด รวมถึงระบบประสาทในสิ่งมีชีวิต
3.3แรงนิวเคลียร์แบบอ่อน เป็นแรงที่เกิดในการสลายตัวของธาตุกัมมันตรังสี และปฏิกิริยานิวเคลียร์บนดวงอาทิตย์เป็นต้น
3.4สี่แรงนิวเคลียร์แบบเข้ม เป็นแรงที่ดึงดูดอนุภาคควาร์ก ให้รวมกันอยู่ได้โปรตรอนและนิวตรอน ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของอะตอม
***ปัจจุบันทฤษฎีที่เราใช้อธิบายแรงโน้มถ่วงคือ ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป ซึ่งค้นพบโดย อัลเบอร์ต ไอน์สไตน์

ปัญหาใหญ่อีกอย่างของทฤษฎีเอกภพคู่ขนานคือ การทดสอบทฤษฎี โดยเฉพาะทฤษฎีที่ได้แรงบันดาลใจ มาจากทฤษฎีสตริง เพราะตามทฤษฎีแล้ว การที่จะเห็นมิติพิเศษอื่นๆที่มากกว่า 4 นั้น จะต้องอาศัยพลังงานสูงมากๆ และอาจจะต้องใช้เทคโนโลยี ที่สูงกว่าที่เรามีอยู่ในปัจจุบัน อย่างไรก็ดีนักฟิสิกส์หลายๆคนเชื่อว่า เราอาจจะตรวจพบสัญญาณจากมิติที่ห้า จากการทดลองโดยเครื่องเร่งอนุภาค Large Hadron Collider (LHC) ที่ห้องปฏิบัติการ CERN ในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ นอกจากนี้แล้วการศึกษาคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ที่เรียกว่า
Cosmic Microwave Background (CMB) ก็อาจจะทดสอบทฤษฎี Bubble Universe ได้ว่าน่าเชื่อถือหรือไม่

วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2550

คู่ขนาน

คลังข้อความขนานคือข้อความต้นฉบับและข้อความภาษาอื่นๆ ที่แปลมาจากข้อความต้นฉบับ ในคลังข้อความขนานระบุส่วนตรงกันมีการระบุประโยคที่ตรงกันของคู่ข้อความที่ต่างภาษา ดังตัวอย่างในตารางด้านล่าง
ข้อความต้นฉบับภาษาอังกฤษ กับ ข้อความที่แปลเป็นภาษาไทย


แรงขนาน หมายถึงแรงที่มีทิศขนานกัน แรงขนานมี 2 ประเภท คือ
แรงขนานพวกเดียวกันคือแรงขนานที่มีทิศทางเดียวกัน
แรงขนานต่างพวกกันคือแรงขนานที่มีทิศทางตรงข้ามกัน

แบบทดสอบคู่ขนาน หมายถึง แบบทดสอบสองฉบับที่มีเนื้อหา ความยากง่าย อำนาจจำแนก คะแนนเฉลี่ย คะแนนเบี่ยงเบนมาตรฐานเหมือนกัน และจำนวนข้อเท่ากัน นำไปสอบกับกลุ่มตัวอย่างทั้งสองฉบับ แล้วหาค่าสหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนทั้งสองฉบับนี้ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ที่คำนวณได้นี้ก็คือความเชื่อมั่นของแบบทดสอบนั่นเอง

เส้นขนาน คือ เส้นตรงสองเส้นที่อยู่บนระนาบเดียวกัน ไม่ตัดกัน และมีระยะห่างระหว่างเส้นทั้งสองเท่ากันเสมอ เส้นขนานอาจเป็นเส้นตรงหรือเส้นโค้งก็ได้ เช่น รางรถไฟ ขอบยางในรถยนต์

เส้นตรงที่ตั้งฉากกับเส้นตรงเดียวกันย่อมขนานกัน และเส้นตรงที่ขนานกับเส้นตรงเดียวกันย่อมขนานกัน