วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2550

การพับ


พับนก

พับมังกร....อันนี้ไม่มีวิธีการพับ

พับเลข8

พับคุณช้าง

พับเค้ก


ได้ไปลองดูวิธีการพับของญี่ปุ่นที่เกิดจากกระดาษแผ่นเดียว
รูปทรงของกระดาษก่อนที่จะพับเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัสทั้งหมด
ญี่ปุ่นเป็นชนชาติที่ควรได้รับการยกย่องในหลายหลายๆด้าน เพราะมีไอเดียแปลกๆจึงอยากนำมาเสนอให้ได้ชมกัน

ซึ่งจะเห็นได้ว่าการพับนั้นเกิดจากการตัดสินใจที่จะพับออกมาและเลือกว่าจะพับตรงไหนทำให้จุดหมายปลายทางไม่เหมือนกัน

สิ่งที่จะนำมาประยุกต์ใช้งานที่เกิดจากการพับ
ผมติดปัญหาอยู่ที่รูปแบบการพับของของแต่ละอย่างไม่เหมือนกัน ผมจึงต้องศึกษาว่าจะทำอย่างไรการพับถึงอธิบายSequenceของผมได้อย่างตรบถ้วน และมีความน่าสนใจ+สนุก อยู่ในงานออกแบบ
- ผมคิดจะนำข้อมูลของการพับมาใช้ในการออกแบบ ว่าเมื่อเวลาเราพับตรงไหนจะเปลี่ยนไปอย่างไร
- รูปทรงที่ใช้เริ่มอาจเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส เพราะผมเอาวิธีการพับแบบญี่ปุ่นมาอ้างอิง และอาจมีการลอกวิธีการพับบางส่วนเพื่อใช้เป็นแกนการพับ
http://www.origami-club.com/ >>>>สนใจดูการพับแบบอื่นlinkไปที่เวปนี้ได้นะครับ

วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2550

แก้ข้อผิดพลาดของงานคู่ขนาน

Sequence คู่ขนาน ในทฤษฎีของ Quantum ที่ว่าด้วยโลกคู่ขนาน
ทฤษฎีของโลกคู่ขนานนี้เกี่ยวข้องกับทฤษฎีความน่าจะเป็นโดยจะมีตัวให้เลือกคล้ายกับการเสี่ยงสุ่มโดยหน้าของลูกเต๋าว่าจะออกหน้าอะไร ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจะส่งผลกระทบให้เกิดสิ่งใหม่ในขั้นตอนถัดไป โดยสิ่งนี้อาจมีจุดเริ่มเหมือนกันแต่จุดจบไม่เหมือนกัน และสามารถเกิดต่อไปได้เรื่อยๆอีก ซึ่งจะมีจุดจบ หรือไม่มีก็ได้

โดยเส้นทางที่เชื่อมต่อซึ่งทำให้วัตถุเปลี่ยนแปลงไปอาจคล้ายกับLink โดยมีลักษณะที่คล้ายกับท่อต่อน้ำ ซึ่งทำให้วัตถุที่เกิดขึ้นต่างกันออกไป

Linkที่เกิดขึ้นอาจมีลักษณะคล้ายกับท่อส่งน้ำซึ่งอยู่ในจุดA1 และA2 ซึ่งทั้งสองจุดไม่ใช่การเลือก แต่เป็นจุดเชื่อมต่อเพื่อให้ส่งต่อจากจุด A1 ไปยังจุดA2 ได้ซึ่งอาจจะเป็นเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของSequenceแบบส่งต่อกันก็ได้ ซึ่งวัตถุที่ยกมาจะอยู่ในรูปของวัตถุที่สามารถเปลี่ยนรูปได้ซึ่งในขั้นตอนนี้ได้ยกตัวอย่างของน้ำที่อยู่ในท่อซึ่งน้ำจะสามารถเปลี่ยนรูปได้เมื่ออยู่ในสิ่งแวดล้อมต่างๆ และสามารถเปลี่ยนรูปร่างเพื่อเคลื่อนให้ไปหาอีกจุดหมายหนึ่งได้ แต่รูปร่างของน้ำจะไม่คงตัวทำให้ไม่สามารถยกรูปแบบของน้ำมาเป็นตัวอย่างในSequenceคู่ขนานได้ เพราะน้ำจะไม่หลงเหลือรูปทรงของในอดีตได้มากว่าความเป็นน้ำที่อยู่ในภาชนะใหม่

หารูปแบบที่มีลักษณะคล้ายกัน....ดินน้ำมันน่าจะตอบโจทย์ได้มากกว่าน้ำ เพราะว่าดินน้ำมันมีของแข็งกึ่งเหลวที่สามารถซึมซับเหตุการณ์ในอดีต....เมื่อเราขยำรูปร่างดินน้ำมันก็เปลี่ยนไปตามที่เราขยำ เมื่อเราปามันลงกับพื้นรูปร่างก็มันก็มีบางส่วนที่แบนและมีบางส่วนที่มีเหตุการณ์ของมันอยู่บ้าง และเมื่อเรานำมีดมาตัดครึ่งมันรูปร่างของมันก็ยังบอกถึงว่ามันเคยถูกขยำและถูกปามาก่อน เพราะรูปร่างที่เปลี่ยนไปจากสิ่งที่อดีตได้กระทำมา

เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับทฤษฎีโลกคู่ขนานของ Quantum ที่พูดถึงโลกในแบบที่ทับซ้อนกัน ซึ่งเป็นโลกของความน่าจะเป็น สถานะที่ต่างกันออกไปความสัมพันธ์นี้จะสิ้นสุดลง เมื่อมีการเลือกทางใดทางหนึ่งของความน่าจะเป็นนั้น ซึ่งหลังจากที่มีการเลือกเกิดขึ้นแล้วเอกภพคู่ขนานทั้งสองจะไม่สัมพันธ์กันอีกเลย โดยนำเอาการเคลื่อนที่ของน้ำที่อยู่ในรูปแบบของท่อ กับวัตถุที่เป็นดินน้ำมัน จะได้ดังนี้
-วัตถุที่เลือกต้องมีความอ่อนไหวต่อสิ่งเร้า
-วัตถุที่เลือกต้องเปลื่ยนไปไปตามแต่ละสถานที่โดยเป็นขั้นตอน
-เมื่อเปลี่ยนแปลงแล้วต้องอ้างถึงเหตุการณ์เก่า(น่าจะเหลือการเปลี่ยนแปลงครั้งก่อนไว้ให้เห็น)

ผมจึงหาวัตถุที่ใกล้เคียงกับดินน้ำมัน...ซึ่งน่าจะเป็นกระดาษเพราะกระดาษเป็นสิ่งที่บอบบางและสามารถเปลี่ยนรูปร่างด้วยวิธีการพับ....ผมหยุดความคิดนี้ไว้จนถึงวันศุกร์

ผมจึงคิดต่อไปอีกว่าผมจะใช้กระดาษมาเป็นตัวช่วยในการออกแบบอย่างไร
ในวันศุกร์ผมได้ไปดูนิทรรศการที่Central World ผมได้หยิบแผ่นพับขึ้นมาดูและพบว่า....เมื่อผมกางออกทั้งหมดและพับเก็บอีกครั้ง ผมจำไม่ได้ว่าผมควรจะพับไปด้านหน้าหรือด้านหลังดี และการพับเก็บของผมก็แปลกออกไป ผมจึงต้องย้อนไปพับใหม่อีกครั้ง ผมคิดว่าแผ่นพับน่าจะเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์ของผมได้ดีที่สุด เพราะเมื่อเราพับตามแบบที่เขาไม่ได้พับจะทำให้ผลสิ้นสุดแตกต่างออกไป ซึ่งจุดสิ้นสุดของเราจะเหมือนกับดินน้ำมันที่ถูกปาถูกขยำถูกตัดเป็นต้น